หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรูปการเรียน สัปดาห์ที่ 3 (27/06/56)


  • ศึกษาโปรแกรม Boxgen เป็นโปรแกรมสร้างรูปกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยโปรแกรมจะมีรูปแบบของกล่องต่างๆมาให้ โดยเราสามารถกำหนดค่าต่างเองได้ โดยตัวโปรแกรมจะคำนวนค่าต่างๆออกมาเลย หลังจากนั้นเราก็สามารถนำไปต่อยอดในการออกแบบกราฟฟิกต่อไป


การบ้าน
  • ทำงานกลุ่ม สืบค้น ส.1 พร้อมกับกรอบแบบสอบถามที่อาจารย์ได้ให้มาใน google ไดรฟ์ ว่าทางลูกค้าต้องการออกแบบและพัฒนาสินค้าอย่างไรบ้าง 
  • แก้งานนามบัตรให้ถูกต้อง พร้อมปริ้น มาส่งอาทิตย์หน้า 

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง

บรรจุภัณฑ์ที่ได้เราทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง คือ นมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์

(Product and Package Visual Analysis)


โดย นายณัฐวุฒิ จินะรักษ์
26 มิถุนายน 2556


การศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ก่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นในการเรียนการสอน ทั้งยังได้ศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ศึกษา ต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตนได้วิเคราะห์ข้อมูล ผลิตภัณฑ์นั้น คือ 
นมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์

1. ข้อมูลของ
นมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์
  • ชื่อสินค้า : นมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์ (Dutch Mill Selected)
  • ประเภท : ผลิตจากนมโคสดที่คัดสรร 100% 
  • วัสดุหลัก : ขวดพลาสติก 
  • โทนสี : ขาวขุ่น น้ำเงิน ฟ้าอ่อน ฟ้า 
  • ขนาดของขวด : กว้าง 6 Cm. / ยาว 6 Cm. / สูง 18 Cm. 
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายโดย : บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด 137/6 ถนน.พุทธมณฑลสาย 8 อำเภอ.นครชัยศรี จังหวัด.นครปฐม โทร. 02-881-2222 www.dutchmill.com
  • ราคา : กล่องละ 23 บาท

2. โครงสร้างหลัก
  • บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ : พลาสติกขวดสีขุ่น
  • การขึ้นรูปทรง : ขวดหยัก
  • ขนาดของกล่อง : กว้าง 6 Cm. / ยาว 6 Cm. / สูง 18 Cm.
  • โทนสี : ขาวขุ่น น้ำเงิน ฟ้าอ่อน ฟ้า

3. การออกแบบกราฟฟิก
  • ภาพประกอบของบรรจุภัณฑ์ของสินค้านมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์ คือ ลวดลายกราฟิกที่แสดงเป็นนมที่กำลังกระเด็นออกมาจากขวด ดูแล้วทำให้น่าซื้อบริโภคมากขึ้น การใช้ฟอนต์ก็มีการจัดวางที่ดี เรียบง่ายแต่น่าสนใจ และการเสนอคุณค่าของนมนั้น มีความเด่นชัด เพราะได้ใส่กราฟิกลงไปเพื่อสร้างสีสันให้ขวดนม

การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วนวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น







ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้า คือ  นมขาดมันเนย พาสเจอร์ไรส์ ตรา ดัชมิลล์
  • หมายเลขที่ 1 คือ แผ่นสลากพลาสติกปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
  • หมายเลขที่ 2 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
  • หมายเลขที่ 3 คือ ข้ออความของตราสินค้า
  • หมายเลขที่ 4 คือ ข้อความแนะนำสินค้า
  • หมายเลขที่ 5 คือ ข้อความแนะนำสินค้า
  • หมายเลขที่ 6 คือ สื่อรูป - ภาพกราฟิก
  • หมายเลขที่ 7 คือ ข้อความแนะนำสินค้า
  • หมายเลขที่ 8 คือ ข้อความบ่งบอกถึงคุณค่าของสินค่า
  • หมายเลขที่ 9 คือ ข้อความบ่งบอกถึงคุณค่าของสินค่า
  • หมายเลขที่ 10 คือ ข้อความบ่งบอกถึงปริมาตรสุทธิ
  • หมายเลขที่ 11 คือ ข้อความบ่งบอกถึงข้อมูลโภชณาการ
  • หมายเลขที่ 12 คือ ข้อความบ่งบอกถึงการเก็บใช้งาน
  • หมายเลขที่ 13 คือ สัญลักษณ์คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
  • หมายเลขที่ 14 คือ barcode (บาร์โค้ด) สินค้า
  • หมายเลขที่ 15 คือ ข้อความบ่งบอกถึงการแนะนำในการดื่ม
  • หมายเลขที่ 16 คือ ข้อความบ่งบอกถึงสถานที่ในการผลิต
  • หมายเลขที่ 17 คือ ส่วนประกอบของสินค้า
  • หมายเลขที่ 18 คือ ข้อความบ่งบอกถึงศูนย์ข้อมูลผู้บริโภค
  • หมายเลขที่ 19 คือ ข้อความบ่งบอกถึงครั้งที่ผลิต - วันเดือนปีที่ผลิต


การบ้านสัปดาห์ที่ 2 นามบัตรประจำตัวนักศึกษา

นามบัตร ส่วนด้านหน้า


นามบัตร ส่วนด้านหลัง


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียน สัปดาห์ที่ 2 (20/06/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ Pretest ก่อนเรียน การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์



- อาจารย์อธิบายความหมายและความสำคัญของการออกแบบกราฟิก และการออกแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์
- เรียนรู้การทำ visual analysis และสั่งงานทำ visual analysis บรรจุภัณฑ์ ที่เราเลือกมา ส่งอาทิตย์หน้า
- ตอนท้ายคาบเรียนอาจารย์ได้ทำการแบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ 5 คน พร้อมสั่งงาน สำรวจสินค้า , ออกแบบและพัฒนาสินค้าสำหรับผู้ประกอบการในบริเวณแขวงจันทรเกษม
- อาจารย์ให้จัดทำนามบัตร เพื่อแนะนำตัวเอง หรือแนะนำกลุ่ม ขนาด 5x9 ใส่รูปพร้อมตรามหาวิทยาลัยจันทรเกษม

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียน สัปดาห์ที่ 1 (13/06/56)

          อาจารย์อธิบายและทำความเข้าใจถึง วัตถุประสงค์ หัวข้อ เนื้อหาที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียน การร่วมกิจกรรม และข้อตกลงต่างๆในการเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 และได้อธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องใช้ระหว่างเรียน เช่น Gmail , Issue และ Blogger โดยให้หาความหมายเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิก ( Graphic Design ) , การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ( Packaging Design ) และให้เข้าไปสมัครเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ใน http://www.clarolinethai.info/ และให้เข้าทำแบบสำรวจก่อนเรียน วิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ และได้สอนเกี่ยวกับการแปลข่าวจากเว็บของต่างประเทศ เมื่อได้ข่าวแล้วก็นำมาโพสไว้ใน Googledoc ที่อ.แชร์ลิ้งค์มาให้ ต้องโพสลงไว้ทุกๆ สัปดาห์เพื่อให้ศึกษาเป็นความรู้และเป็นการทำความเข้าใจในการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนสัปดาห์ที่ 1

สืบค้นความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1. การออกแบบกราฟิก (graphic design)
    1.1 ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น

         คำว่าการออกแบบ (Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่
        ในบทความเรื่อง "การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)" สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ http://www.learners.in.th/


             1.2 ความหมายของการออกแบบกราฟิกเป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่

       ในบทความเรื่้อง "การออกแบบกราฟิก และประเภทของงานกราฟิก" สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ http://www.cmmedia99.com/

  
             1.3 คำว่า กราฟฟิก (Graphic) นั้นมีที่มาจากภาษากรีก 2 คำด้วยกันคือ
                       1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
                       2. Graphein หมายถึง การเขียน

             มีคนที่ให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า "กราฟฟิก" ไว้มากมายหลายแบบด้วยกัน แต่หลักๆก็มีดังนี้
             - กราฟฟิกเป็นศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ
             - กราฟฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น
             - วัสดุที่เกิดจากการวาดและการเขียนงานออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัตถุ 2 มิติ มีความกว้างและความยาวเท่ากัน อันได้แก่ งานสถาปนิกในการเขียนแปลนบ้าน การเขียนภาพเหมือนของจิตรกร การออกแบบโฆษณาของช่างออกแบบ
             - กราฟฟิกเป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น รวมไปถึงการพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ

             ดังนั้นสรุปได้ว่า กราฟิก นั้นหมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยการใช้เส้น ภาพวาด สัญลักษณ์ ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ

        ในบทความ "กราฟฟิกคืออะไร เรามีคำตอบ" สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ http://iamthaigraphic.blogspot.com/


2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
           2.1 ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุคการออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
         ในสมัยต่อมา เมื่อมีความก้างหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม(The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)
            - มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลักสุขภาพอนามัย (Respect To Sanitation And Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง
            - หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า
            - ตราฉลากสินค้าหรือยี่ห้อผลิตภัณฑ์ เริ่มมีความสำคัญเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามคุณภาพได้
            - ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ “ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์ 
     ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้

         ในบทความเรื่อง "ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์" ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ http://www.mew6.com/


              2.2 การออกแบบกราฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจในอันที่จะให้ผลทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูดความสนใจ การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ด้วยการใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ ทางการค้า และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดการประสานกลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งลักษณะ 2 มิติ บนพื้นผิวแผ่นราบของวัสด เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะอาบดีบุก หรืออลูมิเนียม โฟม ฯลฯ ก่อนนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน เป็นรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในลักษณะ 3 มิติก็อาจทำได้ 2 กรณีคือ ทำเป็นแผ่นฉลาก ( label) หรือแผ่นป้าย ที่นำไปติดบนแผ่นบรรจุภัณฑ์ประเภท rigid forms ที่ขึ้นรูปมาเป็นภาชนะบรรจุสำเร็จมาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์ บนผิวภาชนะบรรจุ รูปทรง 3 มิติ โดยตรงก็ได้เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติกเป็นต้น ซึ่งลักษณะของการออกแบบกราฟิก บรรจุภัณฑ์นี้ส่วนใหญ่มักถือตามเกณฑ์ของเทคนิคการพิมพ์ในระบบต่างๆเป็นหลัก 

           การออกแบบกราฟิก ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมากเพราะว่าเป็นส่วน ประกอบ ที่สำคัญเหนือไปจากการบรรจุและการป้องกันผลิตภัณฑ์โดยตรง ทำให้บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่เพิ่มขึ้นมาโดยที่ลักษณะกราฟิกบรรจุภัณฑ์และสลาก ได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ

           ในบทความเรื่อง "การออกแบบบรรจุภัณฑ์" สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ 


                2.3 กระบวนการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆให้แปลกใหม่ สะดวก สบายและสอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบ คุณสมบัติของวัสดุ เพื่อใช้ห่อหุ้ม ป้องกันและรักษาคุณภาพ และลักษณะสินค้าให้คงสภาพเดิม หรือใกล้เคียงกับแรกผลิตมากที่สุด

           ในบทความเรื่อง "การออกแบบบรรจุภัณฑ์" สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จากเว็บ


สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์  หมายถึง
                  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นการออกแบบที่เน้นความคิดสร้างสรรค์  โดยสิ่งที่แสดงออกมาสามารถสื่อความหมายของการใช้งานได้อย่างชัดเจน